"ฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์" กิจกรรมที่จัดมายาวนานเกือบ 9 ทศวรรษ
งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สองมหาวิทยาลัยเก่าแก่ของประเทศไทย โดยในครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่ 75 แล้ว ก่อนที่จะมีประกาศเลื่อนการแข่งขันอย่างไม่มีกำหนดในเวลาต่อมา
โดยงานนี้ถูกจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 4 ธันวาคม 2477 จากความคิดของนิสิตและนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่เคยอยู่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
เตรียมจัดฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 หลังยุติไป 4 ปี คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สรุปดราม่า ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 เลื่อน-ไม่เลื่อน?
ประกอบด้วย นายทองต่อ ยมนาค และนายบุศย์ สิมะเสถียร จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง นายทอม จอห์สัน, นายประสงค์ ชัยพรรค และนายประยุทธ สวัสดิสิงห์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ที่จะทำให้นิสิตและนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัย มีความรักใคร่กลมเกลียวกัน เพื่อที่จะได้ร่วมกันสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติต่อไปในอนาคต
โดยการจัดประเพณีนี้ ถูกนำมาจากแบบอย่างการแข่งขันเรือพายประเพณีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์แห่งสหราชอาณาจักร
ทั้งสองสถาบัน จะสลับกันเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในแต่ละปี ทำให้มหาวิทยาลัยที่ได้เป็นเจ้าภาพจะได้รับเกียรติให้ใช้ชื่อขึ้นต้นในปีนั้น ๆ รวมไปถึงกองเชียร์ฝั่งเจ้าภาพจะได้นั่งบนอัฒจันทร์ทางฝั่งทิศเหนือ ของสนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติทุกครั้ง และจะจัดขึ้นทุกปี ยกเว้นช่วงที่มีเหตุการณ์บ้านเมืองไม่เอื้ออำนวย
งานนี้ จะมีกิจกรรม 2 ส่วน คือ การแข่งขันเตะฟุตบอล และกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตทั้งสองมหาวิทยาลัย เช่น การอัญเชิญพระเกี้ยวและตราธรรมจักรเข้าสู่สนาม ตามด้วยขบวนพาเหรดต่าง ๆ ขบวนล้อการเมือง รวมไปถึงการเชียร์และแปรอักษร
โดยทั้งสองฝ่ายจะมีผู้นำที่จะคอยดูภาพรวมการเชียร์ต่าง ๆ รวมถึงคอยประชาสัมพันธ์งานฟุตบอลประเพณี ซึ่งทางฝั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเรียกว่า “ประธานเชียร์” และทางฝั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียกว่า “แม่ทัพเชียร์”
ไฮไลท์ของงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ คือ ขบวนล้อการเมือง ที่ถูกจัดทำขึ้นเพื่อสะท้อนถึงปัญหาสังคมและการเมืองที่เกิดขึ้นในปีนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีนักเตะของทั้งสองสถาบันที่ส่วนใหญ่เป็นแข้งจากสโมสรในลีกฟุตบอลไทย ที่ต่างงัดฟอร์มออกมาเป็นที่น่าจับตามองด้วย รวมถึงกองเชียร์ของแต่ละฝ่าย คณะผู้นำเชียร์ ดรัมเมเยอร์ คฑากร ก็เป็นอีกไฮไลท์ที่น่าสนใจเช่นกัน
ส่วนผลการแข่งขันจากการเก็บสถิติตั้งแต่ครั้งที่ 1 ในวันที่ 4 ธันวาคม 2477 จนถึงปัจจุบัน พบว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชนะ 24 ครั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชนะ 18 ครั้ง และเสมอกัน 32 ครั้ง
ซึ่งถึงแม้ว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยจะผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ และมีการขิงใส่ฝั่งตรงข้ามขนาดไหน แต่ยามสิ้นสุดกิจกรรม ทั้งสองสถาบันก็ต่างแสดงสปิริต ความรัก และความสามัคคีระหว่างกัน ตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมที่จัดขึ้นมาอย่างยาวนานกว่า 89 ปี
ป.ป.ช. แจงยิบ ยืนยัน“ครูชัยยศ” ถูกปลดเพราะมีมูลความผิดอย่างร้ายแรง
ยูเนสโกประกาศแล้ว! "สงกรานต์" เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้
คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย